ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ
ที่อยู่ 79/319 ม. 4 หมู่บ้านชนากาญจน์ 3 ต. เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง



สถานที่ทำงาน บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (อปร.แกลง)

ตำแหน่ง ลูกค้าสัมพันธ์


สีที่ชอบ สีเขียว ชมพู ฟ้า


แนวเพลงที่ชื่นชอบ ฟังสบาย ๆ


ศิลปินที่ชื่นชอบ : Paradox,ปาล์มมี่,โต ซิลลี่ฟู, Linkin Park ,Avil


ตัวตน : ขำ ขำ จริงใจ ไม่เรื่องมาก


E-Mail : patitta.y@hotmail.com



ผู้ติดตาม

เที่ยวบ้านเพ

เที่ยวบ้านเพ
รูปครอบครัวคับ

1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุกาณ์ในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่น ๆ ที่ได้รับจัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น.

2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

1. ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมารวลผลรายการ
2. ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน
3. ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่างานควบคุมการจัดการ
4. ระดบที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์

3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

1. จะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมไปสู่สังคมสารสนเทศ
2.จะมีการใช้เทคโนโลยีระดับสูงควบคู่กับยกระดับการทำงานของมนุษย์ไปสู่ระบบ high tech higt touch
3. การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจจากระดับชาติไปสู่ระดับโลก
4. การเปลี่ยนแนวคิดจกาแบบรวมศูนย์ เป็นแบบการกระจายจากศูนย์
5.การเปลี่ยนแนวทางประชาธิปไตย จากแบบมีผู้แทนไปเป็นแบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง
6. การเปลี่ยนจากการจัดรูปองค์กรและโครงสร้างของอำนาจ จากแบบลำดับขั้นไปเป็นแบบข่ายงาน
7. การเคลื่อนย้ายกิจการทางเศรษฐกิจและประชาชนจากเหนือไปสู่ใต้
8. การมีทางเลือกมากมายหลายทาง ไม่ใช่เพียงสองทางดังแต่ก่อน

คำถามท้ายบทที่ 2

ข้อ.1 อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง



ตอบ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่







1.1แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร เป็นต้น แป้นพิมพ์ถูกออกแบบให้ประกอบด้วยกลุ่มของคีย์ที่มีลักษณะต่างๆ คือ คีย์ตัวอักษร คีย์ตัวเลข คีย์ฟังก์ชั่น และคีย์ทั้งหมดมีถึง 101 คีย์หรือมากกว่า



1.2 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ โดยอาศัยการเลื่อนเมาส์จากการหมุนของลูกกลมที่อยู่ด้านล่าง นอกจากนี้ยังใช้เมาส์สำหรับการวาดรูป การเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนย้าย ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว



1.3 แทร็กบอล (Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่ แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน โดยตัวแทร็กไม่ต้องเคลื่อนที่ จึงทำให้ใช้พื้นที่การทำงานน้อยกว่า นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop)



1.4 จอยสติก (Joy Stick)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง ซ้ายขวา เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้ หลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์นิยมใช้ในการเล่นเกมส์



1.5 เครื่องอ่านบาร์โค๊ต (Bar Code Reader)



เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code) ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลขตามมาตรฐานการกำหนดรหัสจะใช้สำหรับข้อมูลที่แทนตัวเลข เช่น ราคาของสินค้าตามร้านขายสินค้าประเภทต่างๆ



1.1.6 สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป ข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือกราฟฟิก เครื่องสแกนมีหลายแบบตามความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น แบบมือถือ แบบสอดกระดาษ แบบแท่น เป็นต้น



1.7 เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Reader: OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค ตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ ทำให้สะดวกในการรับข้อมูลจากเอกสารจำนวนมาก



1.1.8 เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก



(Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์ เครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธนาคารและสถาบันการเงิน โดยใช้กับการอ่านเช็คเลขที่บัญชี หรือรหัสสาขา เป็นต้น



1.9 ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ มักใช้ในงานออกแบบ แต่การใช้สำหรับการเขียนอักขระ ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสัญญาณที่ได้รับจากการเขียน ซึ่งทำได้ยากในการเปรียบเทียบค่าที่รับเข้ากับค่าที่กำหนดไว้



1.10 จอสัมผัส (Touch Screens) เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM (Automatic Teller Machines) และเครื่องที่ใช้ในร้านซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น



1.11 กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพตามต้องการ ซึ่งสามารถพิมพ์ออกทางพริ้นเตอร์ได้



1.1.12 ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้การสื่อสาร โดยใช้เสียงคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหน่วยที่ทำหน้าที่จดจำเสียง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของอุปกรณ์หรือชุดคำสั่ง (Voice Recognition Devices or Voice Recognition Software) ซึ่งทำให้สามารถสื่อสารหรือสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้



คำถามท้ายบทที่ 2

ข้อ 2.อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

ตอบ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล

ดังนั้นตลอดการประมวลผลจึงมีการติดต่อประสานงานกันระหว่างหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำอยู่ตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเรียกใช้โปรแกรมหรือข้อมูลสามารถทำได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและถูกต้องเป็นขั้นตอน ทั้งสองหน่วยดังกล่าวนี้ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่โดยตรงและอุปกรณ์เสริมเพื่อขยายความสามารถให้การประมวลผล ทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้บรรจุไว้บนแผงวงจรหลัก (Mainbord หรือ Motherboard) นอกจากนี้ภายในแผงวงจรหลักต้องมีส่วนที่ทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังกล่าวกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล เป็นต้น เพื่อให้ทุกหน่วยสามารถทำงานได้

โดยมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนควบคุม (Control Unit) และส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmetic and Logic Unit) ซึ่งทำหน้าที่ ดังนี้

2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่างรวมทั้งตัวเองด้วย ให้เป็นไปตามคำสั่ง เช่น ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลอ่านข้อมูลเข้าหรือให้หน่วยคำนวณ ทำการคำนวณ โดยคำสั่งนั้นจะได้รับจากหน่วยความจำและหน่วยควบคุมจะแปลความหมายแล้วส่งคำสั่งนั้นไปให้หน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายในส่วนควบคุมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

2.1.1 Address Word เป็นส่วนที่จะเก็บตำแหน่งของคำสั่งที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ CPU สามารถติดต่อกับคำสั่งเหล่านี้ได้

2.1.2 Instruction Wordเป็นส่วนที่เก็บคำสั่งที่หน่วยควบคุมใช้ในการจัดการ ในชุดของชุดของคำสั่งนี้จะมีรายละเอียดที่กำหนดขั้นตอนและขอบเขต การทำงานของหน่วยควบคุม ภายใต้ชุดสั่งนั้นๆ จะมีชุดของคำสั่งที่จะกำหนดรายละเอียดของการทำงานของส่วนอื่นต่อไป CPU ที่แตกต่างกันจะมี Instruction Set ที่แตกต่างกัน

2.2 หน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmatic and Logic Unit : ALU)มีหน้าที่สำหรับการคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตลอดทั้งการเปรียบเทียบข้อมูล เช่น เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า รวมทั้งการประมวลอื่น ๆ ซึ่งจะกำหนด โดยคำสั่งจากหน่วยควบคุมภายในหน่วยคำนวณและเปรียบเทียบจะประกอบด้วยส่วนย่อยๆ เรียกว่า Register ที่ทำหน้าที่เหมือนหน่วยความจำชั่วคราวที่เก็บค่าและข้อมูลต่าง ที่นำมาคำนวณหรือประมวลผล

2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit)เป็นส่วนที่หน้าที่ในการเก็บคำสั่งและข้อมูล รวมทั้งผลที่ได้จากการประมวลผลจากส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการส่งหริคัดลอก (Copy) ข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องข้อมูล แต่ละข้อมูลจะถูกกำหนดตำแหน่งให้เก็บในหน่วยความจำเพียงตำแหน่งเดียวหน่วยความจำกำหนดเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งหมายถึงตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ 1 ตัว ที่กำหนดเป็นรหัสจากบิต (Bit) ตามมาตรฐานการกำหนดรหัส



2.3.1 หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน

(Main Memory or Internal Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเก็บโปรแกรมแลผลลัพธ์ที่อยู่ระหว่างการประมวลผล หน่วยความจำประเภทนี้จะเป็นชิป (Chip) ที่ถูกวางแผงวงจรหลัก (Mainbord)ทำให้ติดต่อกับหน่วยควบคุมหน่วยประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ภายในหน่วยความจำหลักประกอบด้วยหน่วยความจำย่อยได้อีก 2 กลุ่ม

1. หน่วยความจำถาวร (ROM: Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำซึ่งเก็บคำสั่งที่สำคัญ เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) คำสั่งเริ่มต้นการทำงาน คำสั่งควบคุมอุปกรณ์ ชุดคำสั่งที่สำคัญเหล่านี้จะถูกบรรจุบน ROM รอมสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 4 ชนิด คือ .PROM (Programmable Read Only Memory) ชนิดนี้ไม่อนุญาตให้แก้ไขเลย EPROM (Erasable PROM) เก็บและแก้ไขได้ด้วยแสงอัตราไวโอเลต EEPROM (Electrically Erasable PROM) และ EAPROM (Electrically Alterable PROM) ทั้ง 2 ชนิดหลังสามารถแก้ไข ลบ และเขียนได้โดยระบบไฟฟ้า

2. หน่วยความจำแบบชั่วคราวหรือแบบแก้ไขได้ (Random Access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง หน่วยความจำส่วนนี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลโปรแกรมและผลลัพธ์ในระหว่างการประมวลผลเป็นส่วนที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บ เพื่อประมวลผลซึ่งส่วนควบคุมจะแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำ ออกเป็นส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Input Area) ส่วนที่ใช้เก็บผลลัพธ์ (Output Area) ส่วนเก็บโปรแกรม (Program Area) ซึ่งหน่วยความจำชนิดนี้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ DRAM (Dynamic RAM) SRAM (Static RAM) และ CMOS

หน่วยความจำสำรองมีหลายชนิดที่ผู้ใช้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้

1.. เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน ลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียง



2. จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD: Direct Access Storage Device)การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็ก แต่การเข้าถึงเนื้อที่เก็บข้อมูลนั้นๆ อาศัยตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยระบบปฏิบัติการ แผ่นจานแม่เหล็กฉาบด้วยสารแม่เหล็กและแบ่งจานแม่เหล็กออกเป็นวง เรียกว่า แทร็ค (Track) จำนวนแทร็คขึ้นอยู่กับความจุอาจจะมีขนาด 200 – 800 แทร็ค

3. จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette)เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar) ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียว และห่อหุ้มด้วยพลาสติก มีหลายขนาด เช่น 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว และ 3.5 นิ้ว ปัจจุบันใช้ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งบันทึกได้ทั้งสองหน้า ความจุของดิสก์เก็ตมี 2 ขนาด คือ แบบดับเบิลเดนซิติ (Double Density) จุได้ 720 KB และ 2.88 MB และไฮเดนซิติ (High Dnsity) จุได้ 1.44 MB

4.. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ เรียกว่า แพลตเตอร์ (Platters) และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์ถูกออกแบบให้เป็นชุดเดียวกันกับส่วนเก็บข้อมูล ซึ่งต่างจากดิสก์เก็ตส่วนอ่านและแผ่นข้อมูลแยกจากกัน ฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะยึดติดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

. ซีดีรอม (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory)

เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลง การบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิต ข้อมูลบน CD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย



6. ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable) เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า CD-R Drive โดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผล ลงบน CD-R ได้ รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย แต่เมื่อบันทึกแล้วจะไม่มีการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ นอกจากการบันทึกได้อีกจนกว่าจะหมดพื้นที่บนแผ่น ความจุของ CD-R ประมาณ 600 MB ต่อหนึ่งแผ่น จึงเหมาะสำหรับการจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลในระบบ Multimedia

. วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD) เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว แต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้ ความจุตั้งแต่ 600 MB ถึง 3 GB ขึ้นไป ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน ซึ่งความไม่เป็นมาตรฐานของระบบนี้ จึงทำให้ไม่นิยมและเผยแพร่ ทั้งที่มีมาก่อน CD-R



8. เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical Disk) เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกัน ทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไป ขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย เนื่องจากแผ่นดิสก์ประกอบด้วยแผ่นพลาสติกบางที่หุ้มผลึกโลหะที่มีแรงดึงดูดคล้ายแม่เหล็กทั้งด้านบนและด้านล่างเป็นแบบแซนวิช เพื่อป้องกันไม่ให้ผลึกโลหะมีการเคลื่อนที่

9.. ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล แผ่นดีวีดีสามมารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GB ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600 KB ต่อวินาที เครื่องอ่านดีวีดีสามรถใช้กับซีดีรอมได้ด้วย ทำให้คาดว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีนี้จะเป็นที่นิยมสูงมากขึ้น

คำถามท้ายบทที่2

ข้อ3. อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

ตอบ 3.1 อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ

3.1.1 จอภาพ (Monitor)

เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ทันทีจอภาพมีหลายชนิด เช่น แบบโมโนโครม แบบเกร์สเกล และแบบสี เป็นต้น

3.1.2 เครื่องพิมพ์ (Printer)เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ อาจเป็นกระดาษต่อเนื่อง กระดาษพิมพ์ขนาดต่างๆ หรือแบบฟอร์มที่ได้กำหนด เราสามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ

1.1 เครื่องพิมพ์แบบเรียงจุด

1.2 เครื่องพิมพ์อักษรคุณภาพ

1.3 เครื่องพิมพ์แบบลูกโซ่

1.4 เครื่องพิมพ์แบบใช้ดรัม

2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ

2.1 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก

2.2 เครื่องพิมพ์แบบใช้แสงเลเซอร์

3.1.3 เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์

เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่ มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบเคด หรือพิมพ์เขียว เป็นต้น ปัจจุบันเครื่องวาดรูปพลอยเตอร์สามารถสร้างภาพกราฟฟิกสีสามมิติ ที่มีความละเอียดสูงและทำได้อย่างรวดเร็ว

3.1.4 เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ลำโพง



เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ปกติคอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงได้ แต่การแสดงผลลัพธ์ในระบบเสียงในที่นี้หมายถึง เสียงที่เกิดจากการ์ดเสียง ในระบบมัลติมีเดีย ลำโพงที่มาพร้อมกับชุดมัลติมีเดียจะมีลักษณะคล้ายลำโพงทั่วไป หน้าที่หลักคือ เมื่อการ์ดเสียงเปลี่ยนสัญญาณเสียงดิจิตอลให้เป็นกระแสไฟฟ้า ผ่านมายังลำโพงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กและเกิดการสั่นสะเทือนของลำโพง มีผลทำให้เกิดเสียงในระดับต่างๆ

คำถามท้ายบทที่3

ข้อ5. จงเรียงลำดับโครงสร้างขอ้มูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่

ตอบ

เครื่องคอมพิวเตอร์มองข้อมูลในลักษณะบิทและไบต์ ดังที่กล่าวมาแล้ว ในขณะที่ผู้ใช้งานมองข้อมูลในลักษณะโครงสร้างข้อมูลดังนี้

1. ตัวอักขระ(Character)

หมายถึงสัญลักษณ์ต่างๆที่มนุษย์ใช้งาน ตัวอักขระหนึ่งตัวเมื่อนำไปเก็บในคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า 1 ไบท์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.1 ตัวเลข(Nuneric) คือ เลขฐาน 10 ซึ่งมีสัญลักษณ์ใช้ 10 ตัวคือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9



2.เขตข้อมูล(field)หรือ รายการ(Item) คือ การนำตัวอักขระประกอบกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นามสกุล อายุ เพศ เงินเดือนเป็นต้น 3.ระเบียน(Record) คือกลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น เรคคอร์ดของสินค้า



4.แฟ้มข้อมูล(File) คือ การนำเรคคอร์ดชนิดเดียวกันมารวมไว้ด้วยกัน เช่นแฟ้มข้อมูลสินค้าในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจมีการใช้แฟ้มข้อมูลแฟ้มเดียวหรือหลายแฟ้มพร้อมกันได้ และสามารถแบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้หลายประเภท แฟ้มข้อมูลที่ควรรู้จัก มีดังนี้

4.1 แฟ้มข้อมูลหลัก(Master file) คือ แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลถาวร โดยปกติแฟ้มข้อมูลหลักมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง

4.2 แฟ้มรายการ(Transaction file) คือ แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลัก เก็บเป็นรายย่อยๆ

1.2 ตัวอักษร(Alphabetic) คือ ตัวอักษร A ถึง Z ตัวอีกษร a ถึง z

1.3 สัญลักษณ์พิเศษ(Special Symbol) คือ สัญลักษณ์ต่างๆเช่น เครื่องหมาย

ทางคณิตศาสตร์ เครื่องหมายบวก(+) เครื่องหมายลบ(-) เครื่องหมายคูณ

(*) เครื่องหมายหาร(/) และสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น #,$,? เป็นต้น

คำถามท้ายบทที่ 3

ข้อ 1. ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง

ตอบ ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบข้อมูลการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลการไหลข้อมูลภายในและภายนอกองค์กรและการนําเสนอสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ

1.ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อบุคคลและองค์กร ข้อมูลแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้

1.1 ข้อมูลทั่วไป

1.2 ข้อความ

1.3 ภาพ

1.4 เสียง

1.5 Tactile Data

1.6 ข้อมูลจากเครื่องรับรู้ ได้จากเครื่องรับรู้ต่างๆ

ที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์



2. การจัดเก็บ เน้นการจัดข้อมูลให้อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกต่อการเรียกใช้งาน

3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล เครื่องมือที่ใช้ คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

4. การประมวลผล คือ การแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการนำมาใช้งาน

5. สารสนเทศ เป็นผลผลิตของระบบสารสนเทศที่มีคุณสมบัติถูกต้อง ตรงความต้องการ ทันเหตุการณ์ สมบูรณ์ครบถ้วน กะทัดรัด

คำถามท้ายบทที่ 3

ข้อ 2. ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล

ตอบ คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น แบบฟอร์มเอกสาร ,รายงาน, วินิทัศน์ โดยการนำเอางานสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนางานในองค์กรต่างๆ ปัจจุบันนิยม 2แบบ คือ

1. ด้วยแรงงานคน

2. ด้วยเครื่องอิเล็คทรอนิคส์



1. การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ

เป็นวิธีการที่ใช้กับข้อมูลไม่มากนัก และจะนำอุปกรณ์มาใช้ใน –

การเก็บข้อมูล, -การคำนวณ-และการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ แฟ้ม

,เครื่องคิดเลข,ปากกา เป็นต้น

2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์

เป็นการประมวลผลข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้

ขั้นตอนการทำงานสะดวก ถูกต้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เหมาะที่จะใช้

เกี่ยวกับ งานการเงิน,สถิติ,และงานบัญชี เป็นต้น

คำถามท้ายบทที่ 3

ข้อ3. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

ตอบ แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้

1. ขั้นเตรียมข้อมูล

เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี

1.1 การลงรหัส

1.2 การตรวจสอบ

1.3 การจำแนก

1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ

2.. ขั้นตอนการประมวลผล



คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น

2.1 การคำนวณ

2.2 การเรียงลำดับข้อมูล

2.3 การสรุป

2.4 การเปรียบเทียบ

3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์

เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

คำถามท้ายบทที่ 3

ข้อ4. หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์

ตอบ 1. บิท (Bit)

คือค่าที่เล็กที่สุดที่คอมพิวเตอร์รู้จัก เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า และสัญญาณของกระแสไฟฟ้ามี 2 สภาวะ คือสภาวะที่วงจรมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกับวงจรที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หรืออีกนัยหนึ่งคือ วงจรเปิดและวงจรปิด สภาวะเช่นนี้ถูกนำมาใช้เทียบกับระบบเลขฐาน 2 โดยมีเลข 0 คือวงจรปิด และเลข 1 คือวงจรเปิด สามารถตรวจสอบได้ง่าย ดังนั้นจึงนำเลขฐาน 2 มาใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยการสร้างชิป (Chip) ซึ่งเป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงต้องนำบิทมารวมเป็นกลุ่มเพื่อใช้สื่อความหมาย เช่นถ้าใช้ 2 บิท จะสื่อความหมายได้ 4 แบบ คือ 00,01,10,11 และถ้าใช้ 3 บิท จะสื่อความหมายได้ 8 แบบ